สวัสดีทุกคนวันนี้เราจะบอกข้อมูลของคณะวิศวะโยธาที่เราเองสืบค้นและรวบรวมข้อมูลมาบอกกันเพราะเราเองนั้นอยากเรียนวิศวะโยธามากเราเลยชอบหาข้อมูลจากที่ต่างๆมาบอกทุกคนกันเราเป็นกำลังใจให้กับคนที่อยากจะเข้าเรียนวิศวะโยธานะรวมถึงตัวเราเองด้วยเพราะตัวเราเองนั้นเป็นความหวังของครอบครัวเลยก็ว่าได้เราจะสู้ได้ด้วยกันนะทุกคนถ้าพร้อมแล้วเราไปอ่านข้อมูลที่เรารวบรวมกันเลยฟิ้วววววววววววววววว
   ประวัติความเป็นมา
     วิศวกรรมโยธา (อังกฤษ: civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ "ภาคีวิศวกร")การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด โดยตอบสนองความต้องการของสังคม
   สาขาย่อย
วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น
วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management) 
ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร
วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering) 
ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุโดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจรและการจัดการทางด้านงานจราจรโดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนนสำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน
วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมธรณี (Geological engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ
วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS)
   หลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา(หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. .2555)
ชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
     ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ไทย):  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
     ชื่อย่อ (ไทย):  วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)
     ชื่อเต็ม (อังกฤษ):  Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
     ชื่อย่อ (อังกฤษ):  B.Eng. (Civil Engineering)
จุดเด่นของหลักสูตร     
1.หลังจากนิสิตจบหลักสูตรปริญญาตรีในระยะเวลา 4 ปี นิสิตจะสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ รวมทั้งสามารถศึกษาในระดับปริญญาโท – เอก ได้
2.มีสิทธิขอสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธาโดยสภาวิศวกร
3.มี 2 หลักสูตรให้เลือก 2 รูปแบบ คือแบบปกติ และแบบสหกิจศึกษา
   อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1.พนักงานในสถานประกอบการ ในตำแหน่งวิศวกรโยธา
2.เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ในตำแหน่งวิศวกรโยธา
3.อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาภาครัฐ หรือเอกชน
4.ประกอบอาชีพอิสระด้านวิศวกรรมโยธา
5.นักวิจัยในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
   วิศวกรรมศาสตร์คณะในฝันของน้องๆหลายๆคนถ้าอยากเรียนคณะนี้ในรอบแอดมิชชั่นจะต้องได้คะแนนเท่าไหร่มาดูกัน
     ก่อนจะพูดถึงคะแนนรอบแอดมิชชั่นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรามาเริ่มด้วยเงื่อนไขกันก่อนดีกว่า
คนที่สามารถยื่นคะแนนรอบแอดในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้จะต้องผ่านเงื่อนไขตามนี้
เรียนวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
เรียนคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
เรียนภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
สำหรับสายอาชีพจะต้องสำหรับการศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรมที่แน่ๆคือถ้าเรียนสายวิทย์คณิตมารับรองว่าสมัครได้แน่นอนแต่ถ้าเรียนศิลป์คำนวณหน่วยกิตวิทยาศาสตร์จะไม่ครบแต่ถ้าโรงเรียนได้มีให้ลงเรียนเพิ่มเติมแล้วเราเรียนจนหน่วยกิตครบก็สมัครได้อยู่ดีในเงื่อนไขไม่ได้ระบุสายที่เรียนแต่ระบุหน่วยกิตที่เรียน ดังนั้นถ้าเราสามารถทำหน่วยกิตได้ครบก็มีสิทธิ์จ้า
รู้เงื่อนไขกันไปแล้วคราวนี้มาดูสัดส่วนคะแนนที่ใช้

GPAX 20% + O-NET 30% + GAT 15% + PAT2 15% + PAT3 20%

หลักการคำนวณคะแนน

(เกรดเฉลี่ย x 1500) + (คะแนนรวมโอเน็ต x 18) + (GAT x 15) + (PAT2 x 15) + (PAT3 x 20)
   เตรียมตัวเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องเก่งอะไร? 
     สำหรับคนที่อยากเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์วิชาพื้นฐานหลักๆ ที่น้องต้องเจอในชั้นปีแรกเลยคือ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์และแคลคูลัสสำหรับวิศวกร จากนั้นก็จะเป็นวิชาแกนของสาขาต่างๆ ตั้งแต่ วิศวะไฟฟ้า เครื่องกล โยธา คอมพิวเตอร์ วิศวการแพทย์ อุตสาหการ ปิโตรเคมี ปิโตรเลียม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ที่สำคัญเลยคือน้องๆ ควรต้องมีทักษะแนวคิดแบบตรรกะ มีความมุ่งมั่นพยายามในการศึกษาวิชาเหล่านี้ให้ดี ทั้งนี้ต้องดูความชอบเฉพาะทาง ต้องถนัดจึงจะเรียนสนุกนอกจากนี้ คนจะเรียนสายวิศวะให้ได้ดี ต้องเป็นคนที่ รู้จักบริหารอย่างเป็นระบบ มีวิธีคิดวางแผน ประยุกต์อยู่พอสมควร ซึ่งในการเรียนนั้น หากไม่ได้เก่งขั้นเทพ ควรเลือกในสายงานที่เป็นกลางๆ เพื่อใช้ความรู้ด้านวิศวะที่เรียนเป็นพื้นฐานเพื่อเลือกงานได้มากขึ้น และวิศวะบางสายงาน นอกจากเด่นวิศวะแล้ว จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี อีกด้วยแต่โดยรวมแล้ว วิศวกรรมศาสตร์ก็เหมือนวิชาการด้านอื่นคือ ต้องเรียนให้มีความรู้ความสามารถที่เข้าถึงวิชา สามารถนำวิชาการที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งนี้ การเลือกสถาบันการศึกษาก็มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะแต่ละแห่งก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน และต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ในวงการการทำงานนั้น การเป็นพี่น้องร่วมสถาบันก็มีส่วนสนับสนุนส่งเสริมกัน  และเมื่อเรียนจบก็จะมีตลาดงานพร้อมที่จะให้เข้าไปทำงานด้วยอัตราเงินเดือนสูง และเมื่อเรียนจบก็จะมีตลาดงานพร้อมที่จะให้เข้าไปทำงานด้วยอัตราเงินเดือนสูงอีกด้วย

    สำหรับบทความเรื่องวิศวะโยธาของเราในวันนี้หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับวิศวะโยธาไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ และใครที่คิดว่าวิศวะโยธานั้นเข้ายากหรือเรียนยากขอให้ทุกคนได้ลองทำดูก่อนนะไม่มีอะไรที่เราเองนั้นทำได้ไม่ได้หรอกสู้ๆน้าทุกคนและสุดท้ายนี้เราขอลาทุกคนไปก่อนนะแล้วเจอกันใหม่บทความหน้าบ๊ายบายยยยยยยยยยยยย

  💗 ประวัติผู้จัดทำ💗

ชื่อ-นามสกุล : นางสาวนัฐชา ทองประสม
ชื่อเล่น : เบลล์
วัน เดือน ปีเกิด : 25 ธันวาคม 2544
อายุ : 17 ปี
สัญชาติ : ไทย
เชื้อชาติ : ไทย
การศึกษา : โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 
สายการเรียน : วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
INTAGRAM : natchabellll
FACEBOOK ; Natcha Thongparsom
ครูผู้สอน : คุณครู เอกลักษณ์  ธะประสพ
วิชา : คอมพิวเตอร์




















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้